วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

น้ำตกสีชมพู...เล็ก..แต่ยิ่งใหญ่


1. ชื่อ น้ำตกสีชมพู
2. ประเภทแหล่งเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ : เชิงนิเวศน์
3. องค์ประกอบสำคัญของแหล่งเรียนรู้/แหล่งท่องเที่ยว :
เป็นเหมืองเก่า มีสวนกล้วย น้ำตกที่แตกต่างจากที่อื่น, สิ่งศักดิ์ที่ชาวบ้านเคารพสักการะ มีการทำกสิกรรม เช่นปลูกมะนาว, มันสำปะหลัง และทำรีสอร์ทใกล้น้ำตกเป็นส่วนใหญ่
4. สถานที่ตั้ง
น้ำตกสีชมพู ตั้งอยู่ที่ ม. ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรึตะโกปิดทองหรือตะโกบน ระยะทางจากอำเภอสวนผึ้ง ประมาณ 30 กิโลเมตร
5.การเดินทาง
จากสวนผึ้งถึงน้ำตกสีชมพู เดินทางโดยรถยนต์หรือ จักรยานยนต์ไปตามถนนสายราชบุรี-ผาปกจะผ่าน ภูผาผึ้งรีสอร์ท, วัดห้วยหนึ่งสะพานหนึ่ง,อ้อมกอดขุนเขา,วัดช่องลม,สะพานสอง,สะพานสาม,สะพานสี่, เมื่อถึงโค้งให้ลดความเร็วไปเรื่อย ๆ จะเห็นทางแยก จากนั้นเลี้ยวขวาข้ามสะพานห้า จะถึงไร่ส้มโชกุน จะผ่านหมู่บ้านหวายน้อย หมู่ 3 หมูบ้านห้วยสุดหมู่ที่ 8 โรงเรียนบ้านตะโกล่าง ขับรถตรงไปเรื่อย ๆ จะผ่านโป่งแมว โค้งลิง ตรงไร่พงศ์แพทย์ มีซอยซ้ายมือ ให้เลี้ยวเข้าซอย ขับรถตรงไปจะเห็นทางเลียบเป็นลานจอดรถดินลูกรัง จอดรถแล้วเดินไปตามถนนลาดยาง จะเห็นทางเข้าน้ำตกทางซ้ายมือ สังเกตศาลเจ้าทางขวามือ
6. ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้/ แหล่งท่องเที่ยว
แร่เปรียบเสมือนทรัพย์ในดินสินน้ำจะได้มากได้น้อยอยู่ที่สัจจะวาจา สมัยก่อนชาวบ้านมีอาชีพขุดหาแร่โดยมีความเชื่อว่าหากพูดคำใดออกไปแล้วจะต้องปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัดเช่นสัญญาว่าจะแบ่งแร่ที่ได้คนล่ะครึ่งก็ต้องทำตามนั้น หากผิดคำพูดคราวต่อไปก็จะไม่สามารถหาแร่ได้
การหาแร่ทำโดยวิธีแยกดินกับหินออก แล้วกองรวมกันไว้ พอนานเข้าหินและหญ้าถูกทับถมมากเข้า ทำให้หินเกาะตัวแล้วเปลี่ยนสภาพเป็นหินแกรนิตก้อนใหญ่, เมื่อชาวบ้านขุดเป็นร่องน้ำเล็ก ๆ เพื่อให้น้ำไหลสะดวกในการดักแร่
สาเหตุที่น้ำตกมีสีชมพูเกิดจาก การฉีดแร่ซึ่งเป็นอยู่ในดินแดง ทำให้น้ำมีสีแดง เมื่อไหลตกลงมา ชาวเห็นมีว่ามีความงดงาม แปลกตา จึงตั้งชื่อว่าน้ำตกสีชมพู เมื่อเลิกทำเหมืองแร่ น้ำตกถูกปล่อยให้รกร้าง ไม่มีการกลบหลุมและทางน้ำ น้ำตกที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาจากน้ำซับ คือน้ำที่อยู่ใต้ดิน
บุคคลที่รู้จักความเป็นมาของน้ำตกสีชมพูได้แก่คนเก่าคนแก่ที่เคยหาแร่อยู่ในหมู่บ้านในสมัยนั้น และผู้ที่อาศัยใกล้เคียงกับแหล่งน้ำตก กว่าจะเป็นน้ำตกสีชมพูอย่างที่เห็นทุกวันนี้จะเห็นได้ว่ามีร่องรอยของกาลเวลา
7. ลักษณะของแหล่งเรียนรู้
ดิน เป็นดินทรายปนดินแดง ลักษณะน้ำตกเป็นหน้าผาลาดชัน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300 ไร่ แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก ประมาณ 100 ไร่เป็นบริเวณน้ำตกซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนอีก 200 ไร่เป็นป่าไม้เบญจพรรณและป่าดิบร้อน ประกอบด้วย ดงกล้วยน้ำ ไม้ประประดับกระจายอยู่รอบบริเวณชายป่า
ระบบนิเวศน์มีความอุดมสมบูรณ์ อากาศหนาวเย็น มีน้ำซับไหลตลอดทั้งปี หากเข้าไปชมน้ำตก จะเห็นอุปกรณ์ทำแร่ที่เก่าคร่ำคร่าหลงเหลืออยู่ เช่นที่ร่อนแร่ที่ทำด้วยไม้ ตะแกรง
8. จุดเด่นที่น่าสนใจ
เป็นสถานที่ร่มเย็น เงียบสงบ อากาศสดชื่น มีสิ่งศักดิ์ที่ชาวบ้านนับถืออยู่ที่ทางเข้าน้ำตก มีอุปกรณ์การทำแร่ในสมัยก่อนที่ถูกทิ้งไว้ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของชาวบ้านตะโกบน ภาษาที่ใช้สื่อสารในท้องถิ่นเป็นภาษามอญ
ลักษณะบ้านที่อาศัยจะมีหินที่มาจากการทำแร่เป็นส่วนประกอบ ห่างจากตัวน้ำตกลึกเข้าไป เนื่องจากยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงดังนั้นการทำแร่จ้องอาศัยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าเครื่องปั่นไฟ ชาวบ้านตะโกบนในปัจจุบันก็ยังคงรับจ้างหาแร่ให้กับเหมือง
9. แหล่งที่มาของข้อมูล/สัมภาษณ์/ อ้างอิง
แกนในการพัฒนาน้ำตก คือ นางมาลัย ปัญญโสภา อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ 349 หมู่ 8 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอ สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีเบอร์โทรศัพท์ 084-412-1932